วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ห้องเรียนรู้ “สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต” ตอนที่ 2

ห้องเรียนรู้  “สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต  อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต”  ตอนที่ 2

 ณ  วันที่   30  ตุลาคม  พ.ศ. 2556
ประมวลภาพการท่องเที่ยว เรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำภูเก็ต ( Phuket Aquarium ) สถานที่แสดงพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด  เป็นอีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ  มีความรู้เกี่ยวสัตว์น้ำและระบบสภาพแวดล้อมของทะเลไทยให้เด็ก ๆ และผู้สนใจได้เข้าไปเรียนรู้มากมาย














สำหรับคุณครูหรือผู้ปกครองที่ไปเที่ยวภูเก็ตอย่างลืมพาเด็กๆ ไปเที่ยว พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำภูเก็ต ( Phuket Aquarium )    เป็นอีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจ  
ช่วยให้เด็ก ๆ ได้รับความรู้และสนุกสนานในการดูพันธุ์สัตว์น้ำ
เป็นอีกสถานที่ที่เด็ก ๆ ชอบมาก

อัตราค่าเข้าชม
คนไทย   
เด็กที่มีความสูงต่ำกว่า 108 เซนติเมตร  และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เข้าชมฟรี
เด็ก 20 บาท
ผู้ใหญ่ 50 บาท
ต่างชาติ  
เด็ก 50  บาท
ผู้ใหญ่ 100 บาท






วันที่โพส
14/11/2556

เรียบเรียง 
ทีมงานนิวแนว


ห้องเรียนรู้ “สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต” ตอนที่ 1



ห้องเรียนรู้  “สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต  อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต”  ตอนที่ 1

 ณ  วันที่   30  ตุลาคม  พ.ศ. 2556
อีกหนึ่งกิจกรรมดี ๆ ทีมงานนิวแนวเดินทางไปท่องเที่ยวที่จังหวัดภูเก็ต
เห็นว่าอีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจของภูเก็ต 
คือ   สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต 
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำภูเก็ต ( Phuket Aquarium ) เป็นสถานที่แสดงพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด  เป็นอีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ  มีความรู้เกี่ยวสัตว์น้ำและระบบสภาพแวดล้อมของทะเลไทยให้เด็ก ๆ และผู้สนใจได้เข้าไปเรียนรู้มากมาย

เก็บภาพมาฝากน้อง ๆ













สำหรับคุณครูหรือผู้ปกครองที่ไปเที่ยวภูเก็ตอย่างลืมพาเด็กๆ ไปเที่ยว พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำภูเก็ต ( Phuket Aquarium )    เป็นอีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจ  
ช่วยให้เด็ก ๆ ได้รับความรู้และสนุกสนานในการดูพันธุ์สัตว์น้ำ
เป็นอีกสถานที่ที่เด็ก ๆ ชอบมาก

ติดตามชมภาพตอนที่ 2 กันเลยครับ>>





วันที่โพส
14/11/2556

เรียบเรียง 

ทีมงานนิวแนว 

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ภาพบรรยากาศการทำบุญประเพณี 12 เป็ง

ภาพบรรยากาศการทำบุญประเพณี 12 เป็ง




12  เป็ง  หรือขึ้น 15  ค่ำเดือน 12  หนเหนือ

ในแบบของชาวบ้านในเขตตำบลสันทรายมหาวงศ์ และตำบลขัวมุง  อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ บางส่วนที่มีลักษณะของประเพณีท้องถิ่นที่เหมือนกัน  ได้แก่  วัดต้นผึ้ง  วัดศรีดอนชัย  วัดป่าสา  วัดหัวดง 
ซึ่งนิยมเรียกลักษณะของสิ่งของที่ประกอบพิธีกรรมว่า
สลากน้อยหรือสลากหน้อย 
ก๋วยสังน้อยหรือก๋วยสังหน้อย
บ้างก็เรียกว่า  สลากเทวดา


ซึ่งกล่าวโดยรวมแล้วคือการทำบุญ ในประเพณี  12  เป็ง เป็นช่วงปล่อยผีตามความเชื่อของผู้เฒ่าผู้แก่ ให้มารับของกิ๋นของตาน (ของกิ๋นของตาน คือ ของที่ทำบุญ เช่น อุปกรณ์ เครื่องปรุง วัตถุดิบในการทำอาหาร  อาหารแห้ง  อาหารสด  อาหารปรุงสุก และผลไม้) ตามความเชื่อแบบล้านนา
ซึ่งประเพณี 12 เป็ง  ตามความเชื่อของผู้เฒ่าผู้แก่บ้านต้นผึ้ง  ได้รับอิทธิพลมาจากวรรณกรรมทางพุทธศาสนา เรื่อง พระมาลัย  ที่ว่าไว้ด้วยโลกมนุษย์  สวรรค์  และนรก
ประเพณี 12  เป็งจึงเป็นความเชื่อแบบล้านนาที่นิยมทำกันอย่างแพร่หลาย
ดังนั้นเว็บ newnaew.net จึงประมวลภาพบรรยากาศการทำบุญให้เด็ก ๆ นักเรียน  นักศึกษาที่สนใจเรื่องราวของการทำบุญประเพณี 12  เป็ง ในแบบของชาวสันทรายมหาวงศ์บางส่วนที่การทำบุญกันในลักษณะนี้    ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเฉพาะของท้องถิ่นที่สืบทอดกันมายาวนานนับจนถึงปัจจุบันนี้




ภาพที่นำเสนอนี้เป็นภาพกิจกรรมการทำบุญเนื่องในงานประเพณี 12  เป็ง  บ้านต้นผึ้งเมื่อวันที่ 19  กันยายน 2556
ขอขอบคุณเจ้าอาวาสวัดต้นผึ้งและคณะศรัทธาบ้านต้นผึ้งที่เอื้อเฟื้อสถานที่ในการถ่ายภาพ

ผู้จัดทำ
ทีมงาน newnaew
วันที่

19  กันยายน 2556

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

วันปล่อยผี : ประเพณีสิบสองเป็งล้านนา

12  เป็ง  หรือขึ้น 15  ค่ำเดือน 12  หนเหนือ
ตรงกับวันไหว้พระจันทร์
และเดือน 12 หนเหนือ ยังตรงกับประเพณีของคนไทยภาคกลาง ไทยภาคใต้คืองานเทศกาลสารเดือน 10
ก็ทำบุญคล้าย ๆ กับทางเหนือเราเหมือนกัน



12  เป็ง เป็นช่วงปล่อยผีต๋ายเก่าเน่าเมินมารับของกิ๋นของตาน (ของกิ๋นของตาน คือ ของที่ทำบุญ เช่น อุปกรณ์ เครื่องปรุง วัตถุดิบในการทำอาหาร  อาหารแห้ง  อาหารสด  อาหารปรุงสุก และผลไม้) ตามความเชื่อแบบล้านนา
คนเฒ่าบะเก่า (คนโบราณ) ว่าไว้  ลูกหลานคนใดบะตานหา  ผีต๋ายเก่าเน่าเมิน (ผีบรรพบุรุษ) วงศ์คณาญาติที่ล่วงลับไปแล้วในช่วง  12 เป็ง ผีจะแจ่งหัว (สาปแช่ง) เมื่อบะได้กิ๋นของกิ๋นของตานเหมือนผีตนอื่น
บางบ้านจึงนิยมตานก๋วยสลาก 
บางบ้านตานก๋วยสัง  (ตานก๋วยสัง  เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวบ้านในตำบลสันทรายมหาวงศ์ เชียงใหม่ และชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง)  นิยมตานก๋วยสัง คือ สลากหน้อย  ซึ่งก็เหมือนกับตานสลาก   แต่เรื่องครัวตาน (เครื่องสำหรับประกอบการทำบุญ) นั้นก็มากพอ ๆ กับสลาก แต่จะมีก๋วยหน้อยมากมายในการทำบุญ
เครื่องครัวตานในก๋วยสังจะประกอบไปด้วย  เมียง  บุหรี่ขี่โย  ไม้ขีดไฟ  เกลือ  พริกแห้ง  หอม  กระเทียม  ข้าวสาร  ห่อนึ่ง  ผลไม้  ขนมจ๊อก สวยดอก เป็นต้น  โดยจะนำเอาเครื่องครัวตานเหล่านี้จัดเป็นกอง ๆ ใส่ตะกร้าหรือพาชนะที่เตรียมไว้ตามจำนวนก๋วยสัง





ซึ่งช่วงเช้าตรู่อาจจะมีการตานขันข้าวหาเจ้ากรรมนายเวร  เทวบุตร  เทวดา  หรืออุทิศส่วนกุศลให้ตนเองในภายภาคหน้า
สาย ๆ จะตานก๋วยสังบนวิหารหลวง  เพื่อให้ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า  ตายาย  พ่อ แม่พี่ น้อง วงศ์คณาญาติ  ที่ล่วงลับไปแล้วมารับอานิสงส์การทำบุญตานอย่างทั่วถึงตามจำนวนของคนที่ล่วงลับ
นับว่าเป็นเทศกาลงานบุญใหญ่ของชาวล้านนาอีกเทศกาลที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตและความเชื่อของพุทธศาสนาในแบบชาวล้านนา

หวังว่าลูกหลานชาวล้านนาไทย จะยึดมั่นในประเพณีบ้านเราให้คงอยู่ตลอดไป


วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

หัตถกรรมพื้นบ้านล้านนา:ขันโตกหวาย

ขันโตกหวาย หัตถกรรมพื้นบ้านล้านนา




ขันโตกเป็นพาชนะใส่สำรับอาหารของคนเมืองหรือคนล้านนา  ซึ่งขันโตกก็เหมือนกับโต๊ะสำหรับนั่งล้อมวงกินข้าวกันในครอบครัวหรือต้อนรับแขกผู้มาเยือนซึ่งเป็นวัฒนธรรมของไทยแต่โบราณ  ซึ่งขันโตกเป็นคำเรียกเฉพาะของคนเหนือ
มักจะเห็นกันโดยทั่วไปในร้านอาหารหรือแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมภาคเหนือนิยมนำมาจัดสำรับอาหารต้อนรับแขกผู้มาเยือนด้วยอาหารใส่ขันโตก ประกอบไปด้วยน้ำพริกหนุ่ม  แคบหมู  ลาบเลือดแบบเหนือ  ลาบคั่ว แกงฮ่อม  แกงฮังแล  จอผักกาด  น้ำพริกฮ่อง  เป็นต้น  ขันโตกที่นิยมใช้จะมีอยู่ 2  ลักษณะคือ  แบบที่ทำจากไม้และแบบที่สานจากหวาย  ตามรูปที่เห็นคือขันโตกหวาย

ปัจจุบันเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพราะงานหัตถกรรมจักรสานนับวันจะขาดผู้สืบทอดไปเรื่อย ๆ  หวังว่าน้อง ๆ จะช่วยกันสืบสานงานหัตถกรรมพื้นบ้านให้คงอยู่ต่อไปนะครับ


ผู้เขียน 
พยัคฆ์กูรู

วันที่เขียน
11/09/2556


วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เอริน กรูเวลล์/ครูผู้สร้างสรรค์

เอริน กรูเวลล์ (Erin Gruwell)



เอริน กรูเวลล์ (Erin Gruwell) ครูผู้เป็นอีกหนึ่งตำนานการจัดการเรียนรู้ยุคใหม่
จบการศึกษาครุศาสตร์    จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
อาชีพแรกของเธอ คือการเป็นครู  แต่การเป็นครูของเธอนั้นไม่ได้ราบรื่น  ต้องพบกับอุปสรรคต่าง ๆ และโรงเรียนที่เธอสอนนั้นมีปัญหาด้านความหลากหลายทางเชื้อชาติ  ความก้าวร้าว ความหยาบคาย และปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด อาชญากรรม การเหยียดผิว แบ่งแยกเชื้อชาติ ภายในห้องเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย
แต่วิธีการสอนของเธอกับมีความน่าสนใจ
ชีวิตการเป็นครูของเธอน่าติดตามมาก  เพราะเธอทุ่มเทกับการเรียนการสอน  ทุ่มเทกับการช่วยเหลือนักเรียนของเธอ
ซึ่งผู้เรียบเรียงบทความ  ได้รับชมภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวการสอนของเธอ รู้สึกประทับใจมาก ๆ  เธอเป็นครูอีกคนที่อุทิศตนเพื่อลูกศิษย์  น่ายกย่องเป็นอย่างยิ่ง  อีกทั้งแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของเธอเองนั้นก็เป็นแนวคิดที่ดี เช่น  การให้นักเรียนได้เขียนบันทึก เรื่องราวส่วนตัว   ซึ่งการเขียนนั้นเองเป็นอีกช่องทางของการปลดปล่อยความคิดความรู้สึก  ทำให้ครูเอริน กรูเวลล์ ได้รับทราบข้อมูลนอกเหนือจากการพูดคุยกับนักเรียนของเธอ  จนสามารถเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรมนักเรียนของเธอได้  อีกทั้งการจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลาย  ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่ช่วยให้เด็กได้ซึมซับความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ สร้างความรู้สึกและทัศนคติที่ดีต่อการเรียน  ต่อความรุนแรงที่นักเรียนของเธอได้รับจากสิ่งแวดล้อมที่นักเรียนอาศัยอยู่  ทำให้นักเรียนได้พิจารณาและคิดวิเคราะห์ผลดีผลเสียของความรุนแรงโดยไม่จำเป็นต้องสอนด้วยคำพูดแต่ในตำราเพียงอย่างเดียว เป็นการสอนที่อาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ เข้ามาผสมผสานการเรียนรู้  
เว็บไซต์ freedomwriterfoundation.org   ของเอริน กรูเวลล์  



สำหรับเรื่องราวการจัดการเรียนการสอนของเธอนั้น  คุณครูหลาย ๆ คนน่าจะได้แนวคิดดี ๆ จากเรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตนเองไม่มากก็น้อย  ด้วยสาระเรื่องราวที่นำเสนอผ่านภาพยนตร์ เรื่อง Freedom  Writers  หรือชื่อไทย “เขียนฝัน บันดาลใจ” 
เยาวชน  คุณครู  และท่านผู้สนใจ  ลองหาภาพยนตร์ เรื่อง Freedom  Writers  มาดูนะครับ

หวังว่าเรื่องราวของคุณครูเอริน กรูเวลล์  จะเป็นแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ เยาวชนที่อยากเป็นครูรุ่นใหม่ได้พลังสร้างสรรค์ ไปพัฒนาการศึกษาในอนาคตให้เกิดอัตลักษณ์นะครับ

ขอบคุณภาพประกอบจาก
http://www.freedomwritersfoundation.org/about.html


ผู้เรียบเรียง
พยัคฆ์กูรู

วันที่โพส

4/07/2556

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

ประเพณี ปี๋ใหม่เมือง


ประเพณี ปี๋ใหม่เมือง


ตามความเชื่อของชาวล้านนา  ถือว่าวันสงกรานต์  เป็นวันขึ้นปีใหม่  ซึ่งลำดับความสำคัญของแต่ละวัน ดังนี้
วันสังขารล่อง  ตามประเพณีของชาวล้านนาวันนี้ทุกคนจะจุดประทัดตั้งแต่หลังเที่ยงขึ้นเป็นต้นไปถือว่าได้เป็นศักราชใหม่  ทุกบ้านจะตื่นแต่เช้าทำความสะอาดบ้านเรือน  เพื่อละทิ้งสิ่งเก่าให้ผ่านไปกับวันสังขารล่อง

วันเนา  หรือวันเน่า  ทุกคนจะพูดแต่สิ่งดี ๆ ทำแต่สิ่งดี ๆ  วันนี้เป็นวันแต่งดาของชาวล้านนา  ทุกบ้านจะทำขนม ข้าวต้ม  ห่อนึ่ง ส่วนใหญ่จะนิยมทำขนมจอก หรือขนมเทียน  ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะทำไส้ขนมจากมะพร้าวขูดเคี้ยวกับน้ำตาลจนแห้งแล้วปั้นเป็นก้อนห่อด้วยแป้งแล้วห่อด้วยใบตองนึ่ง  และจัดเตรียมสิ่งของสำหรับไปวัดในวันพญาวันหรือวันมหาสงกรานต์




วันพญาวัน  เป็นวันที่ทุกคนจะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าใหม่  ใส่น้ำอบน้ำหอม  จัดเตรียมสิ่งของไปทำบุญให้กับวงศาคณาญาติที่เสียชีวิตไปแล้ว   ฟังเทศฟังธรรม   และช่วงสาย ๆ จะมีการขนทรายเข้าวัดจัด และนำตุงไส้หมู  ไส้ช้าง  ตุงสิบสองนักษัตรไปปักที่กองเจดีย์ทราย
หลังจากนั้นแต่ละบ้านก็จะเตรียมของไปดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือ  อันได้แก่ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายพ่อ  ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายแม่  ครูบาอาจารย์ที่นับถือ  ดำหัวผีปู่ย่าประจำตระกูล  เนื่องจากชาวล้านนาส่วนใหญ่ยังคงนับถือผีบรรพบุรุษ  ดำหัวพ่อบ้าน/ผีที่รักษาหมู่บ้าน  เจ้าที่เจ้าดิน และบางบ้านที่มีครูต่าง ๆ ก็จะแต่งของดำหัวครูด้วยเครื่องเซ่นต่าง ๆ และน้ำขมิ้นส้มป่อย เพื่อเป็นสิริมงคล  
(วันพญาวัน มีข้อห้ามว่าห้ามเด็ดดอกไม้ หรือใบไม้ในวันนี้)

วันปากปี  เป็นวันที่ทุกบ้านจะเตรียมขนุนทำเป็นอาหารต่าง ๆ  เช่น  แกงขนุน  ยำขนุนอ่อน  เพื่อให้ตลอดทั้งปีมีแต่สิ่งที่ดี ๆ ช่วยหนุนนำให้ชีวิตประสบแต่ความสุขความเจริญ

ดังนั้นประเพณีปี๋ใหม่เมือง หรือประเวณีปี๋ใหม่เมืองจึงเป็นประเพณีที่สำคัญอีกหนึ่งประเพณีที่คนเหนือพึงปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนานจนถึงปัจจุบันนี้

ผู้เขียน
พยัคฆ์กูรู
วันที่เขียน
14/04/2556