วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ผีบรรพบุรุษในสังคมล้านนา

ผีบรรพบุรุษในสังคมล้านนา

'''ผีบรรพบุรุษในสังคมล้านนามีหลายประเภท''' เช่น ผีมด ผีเม็ง ผีปู่ย่า ผีปู่แสะย่าแสะ ผีอารักษ์

สังคมล้านนาเป็นสังคมที่มีความผูกพันกันของคนภายในชุมชนอย่างแน่นแฟ้น มีทัศนคติความเชื่อเกี่ยวกับผี ซึ่งคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่มีการผูกโยงความเชื่อเรื่องผีกับศาสนาเข้ามาเกี่ยวโยงกัน เช่น วัด มีผีชั้นสูงเป็นผีดี เช่น เจ้าที่ เจ้าวัดเจ้าวา เสือวัด เสือวา เป็นเทพารักษ์ที่ค่อยปกปักรักษาสถานที่ รวมไปถึงสถานที่ตั้งของชุมชน มีผีค่อยรักษาเช่นกัน คือ ผีเจ้าบ้าน ผีป้อบ้าน (พ่อบ้าน)

สำหรับครอบครัวหรือกลุ่มเครือญาติ มีผีค่อยคุ้มครองรักษา เช่นกัน คือ ผีปู่ย่า เป็นบรรพบุรุษที่ตายไปแล้วหลายร้อยหลายพันปีตามความเชื่อของสายตระกูลต่าง ๆ ทุก ๆ ปี ในเดือน 9 เหนือ จะมีการเลี้ยงผีบรรพบุรุษด้วยไก่ต้ม หรือหัวหมูตามประเพณีของแต่ละผี และทุก ๆ คนที่เป็นลูกผีหรือเรียกอีกอย่างว่า ลูกแป้ง ลูกเหล้า ต้องมาร่วมในพิธีกรรมด้วยการนำเอาเครื่องบูชาผีบรรพบุรุษของตนมาด้วย คือ เครื่องอาหารคาว หวาน ผลไม้ ดอกไม้มาร่วมในพิธี หากลูกผีคนใดละเลย ไม่นับถือ ผีบรรพบุรุษอาจโดนบรรดาลให้เกิดอาการเจ็บไข้ได้ป่วย

'''การเลี้ยงผี'''

การเลี้ยงตามประเพณี คือ เลี้ยงทุกปีในเดือน 9 เหนือ ส่วนใหญ่จะเป็นผีบรรพบุรุษแถบทุกตระกูล เช่น ผีมด ผีเม็ง ผีปู่ย่า ผีปู่แสะย่าแสะ ผีอารักษ์

การเลี้ยงผีเพื่อแก้ไขอาการเจ็บป่วย เช่น เกิดอาการเจ็บป่วย จึงบนบานสารกล่าวต่อผีบรรพบุรุษ เมื่อหายจากอาการเจ็บป่วยจะต้องเลี้ยงตามสัญญา หากเป็นผีเม็ง ก็จะบนโดยการฟ้อนผี เป็นต้น

'''การฟ้อนผี'''

การฟ้อนผีในสมัยโบราณส่วนใหญ่จะเป็นผีมด ผีเม็ง ซึ่งเป็นผีฟ้อน และมีความแตกต่างกันไป เช่น

ผีมด มีเครื่องประกอบพิธีแตกต่างกันจากผีเม็ง ไม่มีการห้อยผ้า

ผีเม็ง เครื่องประกอบพิธีที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการฟ้อนผีเม็ง จะมีผ้าห้อยให้ผีได้ใช้ประกอบพิธีการเข้าทรง เป็นต้น